คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ฉบับปรับปรุง
- สํานักที่ปรึกษา กรมการแพทย์
- 27 ก.ค. 2566
- ยาว 1 นาที
โดย กรมการแพทย์ ร่วมกับคณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยและสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ (เผยแพร่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2566)

สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตามการแพร่กระจายเชื้อใน โรงพยาบาลและผู้สัมผัสใกล้ชิด COVID-19 ยังพบได้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการแยกผู้ป่วย
กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ปรับปรุงคำแนะนำ ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการ ดังต่อไปนี้
Standard precautions เช่น hand hygiene, respiratory hygiene and cough etiquettesและข้อปฏิบัติอื่น ๆ ควรทำความสะอาดมือด้วยสบู่และน้ำ หรือ เจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อน/หลังสัมผัส ผู้ป่วยสงสัย/เข้าข่าย โรค COVID-19 รวมถึงการล้างมือในทุกขั้นตอนของการถอดอุปกรณ์ PPE
การป้องกันการติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจโดยทั่วไปรวมทั้งการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ใช้วิธี standard และ droplet precautions
COVID-19 อาจมีการแพร่กระจายแบบ aerosol transmission ได้หากผู้ป่วยไอมาก หรือมีการทำหัตถการ ที่ก่อให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก (aerosol generating procedures) เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การส่องกล้องทางเดินหายใจ การทำ CPR ในกรณีดังกล่าว ให้ใช้ airborne precautions เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
กรณีผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลให้ยึดตามแนวทางการจัดบริการเพื่อดูแลผู้ป่วย COVID-19 สำหรับสถานพยาบาล ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดย กรมการแพทย์
ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ซึ่งใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตลอดเวลาที่อยู่ในสถานพยาบาล เพื่อไม่ให้ละอองน้ำมูก เสมหะปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
Protective gown หมายความรวมถึง
Isolation gown กาวน์ที่ทำด้วยพลาสติก CPE (chlorinated polyethylene) อาจจะเป็นแบบที่ปิดเฉพาะด้านหน้าหรือปิดรอบตัว
Surgical gown กาวน์กันน้ำได้เฉพาะตัวชุด แต่รอยต่ออาจจะกันน้ำได้ไม่สมบูรณ์
Surgical isolation gown กาวน์กันน้ำได้ทั้งตัวชุดและรอยต่อ ส่วนใหญ่ควรใช้แบบที่ปิดคลุมรอบตัว มีสายรัดผูกที่ด้านข้างเอว
7. กรณีที่สวมหน้ากาก N95 ควรทำ fit test ถ้าทำได้ และ ต้องทำ fit check ทุกครั้งก่อนการใช้งาน เมื่อสวมหน้ากาก
8. การสวม การถอด PPE ต้องทำให้ถูกขั้นตอน โดยให้ศึกษาจาก website ของกระทรวงสาธารณสุข 9. หน้ากากทุกชนิดถ้าเปื้อนสารคัดหลั่งหรือเลือดชัดเจน ให้ทิ้งเป็นขยะติดเชื้อ ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่
Comments